วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

                                               

                                    ประวัติส่วนตัว

 ชื่อ ด.ช.ภานุทัตต์ นามสกุล แก้วพิชัย  ชั้น ม.1/6  เลขที12

ชื่อเล่น พี  เกิดวันที่25 ตุลาคม พ.ศ.2543

รายการที่ชื่นชอบ Gangcartoon

อาหารที่ชอบ ต้มยำกุ้ง

นักร้องที่ชอบ justin bieber 

กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล

อนาคตอยากเป็น ตำรวจ

กีฬา เซปักตระกร้อ

                         

                           เซปักตะกร้อ

ประวัติ

ในการค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการเล่นกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
  • พม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 กองทัพพม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น มีการเล่นตะกร้อในช่วงพัก ซึ่งพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
  • ทางมาเลเซียประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า เซปะก์รากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
  • ทางฟิลิปปินส์ นิยมเล่นกีฬาชนิดนี้กันมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกของตนว่า ซิปะก์
  • ทางประเทศจีนมีเกมกีฬาที่คล้ายตะกร้อแต่เป็นการเตะลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นผ่านทางภาพเขียนและพงศาวดารจีน
  • ทางประเทศเกาหลีมีเกมกีฬาลักษณะคล้ายคลึงกับของจีนแต่ใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก แทนการใช้ลูกหนักปักขนไก่
  • ประเทศไทยมีความนิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และ สามารถประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้าน ทักษะและความคิด
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและ วัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,หนังสัตว์,หวาย,จนถึงประเภทสารสังเคราะห์ (พลาสติก)

เซปักตะกร้อ

การแข่งขันตะกร้อในระดับนานาชาติ เรียกเกมกีฬาชนิดนี้ว่าเซปักตะกร้อ โดยเป็นการแข่งขันของผู้เล่น 2 ทีม ทำการโต้ตะกร้อข้ามตาข่ายเพื่อให้ลงในแดนของคู่ต่อสู้ สามารถแบ่งแยกย่อยเป็น 2 ประเภทคือ "เรกู" หรือทีม 3 คน และ "ดับเบิ้ล เรกู" หรือก็คือ ตะกร้อคู่ (คำว่า เรกู เป็นภาษามลายู แปลว่าทีม)

สนามแข่งขัน


สนามแข่งขันขนาดมาตรฐาน
สนามแข่งขันเซปักตะกร้อ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 2 เท่าของสนามแบดมินตัน มีความยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.1 เมตร เพดานหรือสิ่งกีดขวางอื่นใด ต้องอยู่สูงกว่าสนามไม่น้อยกว่า 8 เมตร จากพื้นสนาม (ไม่เป็นพื้นหญ้า หรือพื้นทราย) และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอื่นใดในระยะ 3 เมตรจากขอบสนามโดยรอบ
ความกว้างของเส้นขอบทั้งหมดวัดจากด้านนอกเข้ามาไม่เกิน 4 เซนติเมตร ส่วนเส้นแบ่งแดนความกว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยลากเส้นแบ่งแดนทั้ง 2 ข้างออกตามแนวขวาง แนวเส้นทับพื้นที่ของแต่ละแดนเท่าๆกัน เส้นขอบทั้งหมดนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแดนสำหรับผู้เล่นแต่ละฝ่าย
ปลายของเส้นแบ่งแดน ใช้เป็นจุดศูนย์กลางลากเส้นโค้งวงกลมความกว้างเส้น 4 เซนติเมตร โดยขอบในของเส้นดังกล่าวมีรัศมี 90 เซนติเมตร กำหนดไว้เป็นตำแหน่งยืนของผู้เล่นหน้าซ้าย และหน้าขวา ในขณะที่ส่งลูก
ในแดนทั้งสอง มีวงกลมซึ่งกำหนดเป็นจุดยืนสำหรับผู้ส่งลูก โดยเส้นที่วาดวงกลมขอบในมีรัศมี 30 เซนติเมตร ความกว้างของเส้นคือ 4 เซนติเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ทีระยะ 2.45 เมตร จากเส้นหลังของแต่ละแดน และอยู่กึ่งกลางตามแนวกว้างของสนาม

ตาข่าย

ตาข่ายจะถูกขึงกั้นแบ่งแดนทั้งสองออกจากกัน ทำจากวัสดุจำพวกเชือกหรือไนลอน ความสูงของตาข่ายบริเวณกึ่งกลาง คือ 1.52 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.42 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง) ส่วนความสูงบริเวณเสายึดตาข่าย คือ 1.55 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.45 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง)
ตาข่ายมีขนาดรู 6 - 8 เซนติเมตร ผืนตาข่ายมีความกว้าง 70 เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6.1 เมตร

ลักษณะการเล่นรูปแบบอื่น


ตะกร้อหวาย
การเล่นตะกร้อยังสามารถเล่นได้หลายแบบ ดังนี้
  • การเล่นเป็นทีม ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า "เตะตะกร้อ" ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
  • การติดตะกร้อ (เล่นเดี่ยว) การเล่นตะกร้อที่มีชื่อเสียงมากของไทยคือ การติดตะกร้อ เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่น โดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น นับว่าเป็นศิลปที่น่าชม ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก
  • ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ ถือเป็นการฝึกฝนได้ดีเลยที่เดียว









กีฬา ฟุตซอล

                               ฟุตซอล

ประวัติ

ฟุตซอลเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศแคนาดา ในปี พ.ศ. 2397 เนื่องจากอากาศหนาวจึงไม่สามารถเล่นฟุตบอลกลางแจ้งได้จึงไปใส่ในสนาม บาสเกตบอล เรียกว่า อินดอร์ซอคเกอร์ และได้รับความนิยม จนเมื่อปี พ.ศ. 2475 โรเจอร์ แกรน ได้กำหนด กฎ กติกา สำหรับฟุตซอลขึ้น

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกเริ่ม จัดขึ้นในปี1989 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทีมที่ร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น16ทีม ซึ่งทีมที่ได้แชมป์คือ ทีมชาติบราซิล ซึ่งชนะเนเธอร์แลนด์ 2-1 และตำแหน่งดาวยิงสูงสุดคือ Laszlo Zladany ทีมชาติฮังการี ทำได้7ประตู
การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ฮ่องกงในปี1992 และบราซิลก็ได้แชมป์สมัยที่2อย่างสวยงาม ด้วยการถล่มสหรัฐอเมริกา4-1 ส่วนดาวซัลโวคือ Rajabi Shirazi ทำได้16ประตู
การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 จัดที่สเปนในปี1996 ทีมชาติบราซิลก็ยังคงครองเจ้าสนามโต๊ะเล็กอีกครั้งด้วยการพิชิตสเปนเจ้า ภาพ6-4 ตำแหน่งดาวซัลโวคือ Manoel ทีมชาติบราซิล 14ประตู
การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 4 กัวเตมาลา2000 ซึ่งในครั้งนี้ทีมชาติไทยได้ลงสังเวียนระดับโลกเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าจะแพ้ทั้ง3นัดแต่ก็เป็นการชิมลางในระดับโลกได้เป็นอย่างดี และสเปนก็รองแขมป์เก่าก็กลับมาทวงแค้นด้วยการเอาชนะบราซิล4-3คว้าแขมป์ไป ครองอย่างพลิกความคาดหมาย ดาวซัลโว Manoel Tobias ทีมชาติบราซิล 19ประตู
การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 5 ไทเป 2004 ทีมชาติไทยก็ยังมีโอกาสมาโชว์ฝีเท้าอีกครั้ง และครั้งนี้ยังเก็บได้3แต้ม ด้วยการชนะออสเตรเลีย3-2 ส่วนแชมป์ตกเป็นของสเปนซึ่งเอาชนะอิตาลี2-1
การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 6 จะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล 2008 ทีมชาติไทยก็ได้เป็นหนึ่งในตัวแทนจากทวีปเอเชียได้เข้าแข่งขันในครั้งนี้ด้วย